– สภาพทั่วไป
ลักษณะที่ตั้ง เทศบาลตำบลบ้านเขว้า เขตอำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ ห่างจากตัวจังหวัด ชัยภูมิ เป็นระยะทาง 13 กิโลเมตร มีพื้นที่ 4.44 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,775 ไร่ หมู่บ้านซึ่งตั้งอยู่ในเขตเทศบาล จำนวน 6 หมู่บ้าน คือ หมู่ 1 บ้านเขว้า , หมู่ 2 บ้านเขว้า, หมู่ 11 บ้านม่วง, หมู่ 12 บ้านอุดมผล, หมู่ 13 บ้านส้มโฮง, หมู่ 14 บ้านบูรพา เดิมได้รับการจัดตั้งเป็นสุขาภิบาล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2499 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 13 เล่มที่ 74 ตอนที่ 4 วันที่ 7 มกราคม 2550 ต่อมาได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ.2542 ประกาศเป็นราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 16 ตอนที่ 9 ก วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542
– อาณาเขต
เทศบาลตำบลบ้านเขว้ามีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้เคียง ดังนี้
-ทิศเหนือ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ เริ่มต้นจากหลักเขตที่ 1 บริเวณพิกัด RT 117468 (หลักกิโลเมตรที่ 14+000) เรียบไปทางทิศตะวันออกของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 ชัยภูมิ-หลุบโพธิ์ เป็นระยะทาง 2,000 เมตร จนบรรจบเขตหลักที่ 2 (หลักกิโลเมตรที่ 12+000) พิกัด RT 134569 -ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตเทศบาลตำบลทุ่งทอง อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ เริ่มต้นจากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นตั้งฉากกับแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 ไปทางทิศใต้เป็นระยะทาง 2,800 เมตร จนบรรจบเขตหลักที่ 3 พิกัด RT 11943 -ทิศใต้ ติดต่อกับเขตเทศบาลตำบลทุ่งทอง อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ เริ่มต้นจากหลักเขตที่ 3 เป็นแนวตั้งฉากกับเส้น หลักเขตที่ 2 กับหลักเขตที่ 3 ทิศตะวันตกเป็นระยะทาง 1,430 เมตร จนบรรจบกับหลักเขตที่ 4 พิกัด RT 119443 -ทิศตะวันตก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ เริ่มต้นจากหลักเขตที่ 4 เป็นแนวเส้นตรงไปทางทิศเหนือจนบรรจบกับหลักเขตที่ 1
ลักษณะภูมิประเทศ
เทศบาลตำบลบ้านเขว้าไม่มีพื้นที่ป่าและภูเขา มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบติดเชิงเขาภูแลนคา มีคลอง ลำธาร ห้วย ในเทศบาลมี 1 แห่งได้แก่ ห้วยชีลองไหลผ่าน มีหนองน้ำในเขตเทศบาลทั้งสิ้น 6 แห่ง ประกอบด้วย
- สระหนองบัวสาธารณะประโยชน์
- สระหลวง
- สระหนองขี้ตม
- สระหนองเค
- สระหนองแข้
- สระหนองเมื่อย
คิดเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำรวมทั้งสิ้น ประมาณ 17,620 ลูกบาศก์เมตร
ลักษณะภูมิอากาศ เทศบาลตำบลบ้านเขว้า อยู่ในภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน มีฤดูกาล 3 ฤดู คือ ฤดูหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ ฤดูร้อน ประมาณเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ฤดูฝน ประมาณเดือนมิถุนายน – ตุลาคม
อุณหภูมิ อุณหภูมิสูงสุดในรอบปีที่ผ่านมาเทศบาลตำบลบ้านเขว้า มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดที่ 33.2 องศาเซลเซียส และค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิต่ำที่สุด 22.2 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิสูงสุดอยู่ในช่วง 30.5 องศาเซลเซียส ถึง 41.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดจะอยู่ระหว่าง 6.8 องศาเซลเซียส ถึง 23.7 องศาเซลเซียส
ฝน ปริมาณน้ำฝนในเทศบาลตำบลบ้านเขว้าในรอบปีที่ผ่านมา(พ.ศ.2551) ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 5-10 มิลลิเมตร ฝนตกมากที่สุดในเดือนกันยายน 15.1 มิลลิเมตร และต่ำสุดในเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์
ประชากร ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนไทยอีสานย้ายถิ่นฐานมาจากจังหวัดนครราชสีมา ตั้งรกรากมานาน มีภาษาอีสานเป็นภาษาท้องถิ่น ไม่มีความแตกต่างทางเชื้อชาติและผิวพรรณวรรณะในหมู่ประชาชน และไม่มีปัญหาชนกลุ่มน้อย มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 7,840 คน จำนวนครัวเรือน 2,835 ครัวเรือน ความหนาแน่นของประชากร 1,917 คน/ตารางกิโมเมตร ความหนาแน่นของครัวเรือนประมาณ 639 หลังคา/ตารางกิโลเมตร
ตารางแสดงจำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลบ้านเขว้า
ที่
|
บ้าน/หมู่ที่
|
จำนวน ครัวเรือน
|
จำนวนประชากร (คน)
|
หมายเหตุ
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
1 2 3 4 5 6
|
บ้านเขว้า หมู่ที่ 1 บ้านเขว้า หมู่ที่ 2 บ้านม่วง หมู่ที่ 11 บ้านอุดมผล หมู่ที่ 12 บ้านส้มโฮง หมู่ที่ 13 บ้านบูรพา หมู่ที่ 14
|
1,499 678 250 198 344 476
|
1,343 727 382 242 442 593
|
1,519 834 375 277 469 637
|
2,862 1,561 757 519 911 1,230
|
|
รวม
|
3,445
|
3,729
|
4,111
|
7,840
|
|
หมายเหตุ ที่มา สำนักงานทะเบียนท้องงถิ่นเทศบาลตำบลบ้านเขว้า ณ เดือน ตุลาคม พ.ศ 2565
การบริการขั้นพื้นฐาน
การคมนาคม เทศบาลตำบลบ้านเขว้า มีเส้นทางคมนาคมเชื่อมกับทางหลวงติดต่อกับทางหลวงหมายเลข 225 สายชัยภูมิ-นครสวรรค์ ติดต่อทางหลวงโยธาธิการ สายบ้านเขว้า-โนนจาน ติดต่อทางหลวงโยธาธิการ สายบ้านเขว้า-หนองบัวบาน สำหรับถนนภายในเขตเทศบาลส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก มีเพียงบางสายที่ยังเป็นถนนลูกรังอยู่ การติดต่อกับจังหวัดชัยภูมิโดยรถโดยสาร (สองแถว) ซึ่งจะออกจากเทศบาลตำบลบ้านเขว้าทุกๆ 30 นาที การประปา เทศบาลตำบลบ้านเขว้าไม่มีกิจการประปา ประชาชนในเขตเทศบาลใช้น้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค และจำนวนครัวเรือนที่ใช้น้ำประปาประมาณ 2,669 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 97.68 ครัวเรือน มีปริมาณการใช้น้ำ 4,120 ลูกบาศก์เมตร/วัน สำหรับแหล่งน้ำที่ใช้ผลิตน้ำประปาได้แก่น้ำจากแม่น้ำชีและแหล่งน้ำดิบสำรองจากอ่างเก็บน้ำบาซาน การไฟฟ้า ในเขตเทศบาล จำนวนที่ใช้ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าแล้ว จำนวน 2,669 ครัวเรือน หรือประมาณร้อยละ 99.85 ของครัวเรือนทั้งหมด สำหรับไฟฟ้าสาธารณะภายในเขตเทศบาล มีจำนวน 500 จุด คลอบคลุมถนน 12 สายหลัก การสื่อสาร การสื่อสารที่สำคัญได้แก่ การสื่อสารทางไปรษณีย์ ทางโทรศัพท์ โดยในเขตเทศบาลมีโทรศัพท์ส่วนบุคคลในพื้นที่ ประมาณ 1,065 หมายเลข โทรศัพท์สาธารณะในเขตพื้นที่ ประมาณ 10 หมายเลข และเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้ได้อย่างมี |